"สาระที่ควรรู้"
การใช้วิทยุสื่อสาร
หลักการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
ปัจจุบันวิทยุคมนาคมมีบทบาทสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ และชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างมาก การติดต่อสื่อสารโดยใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเป็นการติดต่อสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่ง่าย รวดเร็ว และประหยัด จึงมีความจำเป็นมากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามการสื่อสารทางวิทยุคมนาคมจะได้ผลสมบูรณ์สามารถอำนวยประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ต้องคำนึงถึงหลักการ ความถูกต้อง และเหมาะสมในการใช้งาน ผู้ที่จะใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตลอดจนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคม
2.1 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้“เครื่องวิทยุคมนาคม” หมายความว่า เครื่องส่งวิทยุคมนาคม เครื่องรับวิทยุคมนาคม หรือเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคม เครื่องรับหรือเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคมด้วยคลื่นแฮรตเซียนตามลักษณะหรือประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ถือว่าอุปกรณ์ใด ๆ ของเครื่องวิทยุคมนาคมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมด้วย
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้“เครื่องวิทยุคมนาคม” หมายความว่า เครื่องส่งวิทยุคมนาคม เครื่องรับวิทยุคมนาคม หรือเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคม เครื่องรับหรือเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคมด้วยคลื่นแฮรตเซียนตามลักษณะหรือประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ถือว่าอุปกรณ์ใด ๆ ของเครื่องวิทยุคมนาคมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมด้วย
มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้าส่งเครื่องวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ฯลฯ
มาตรา 11 ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ฯลฯ
มาตรา 23 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 11 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา 26 ผู้ใดจงใจกระทำให้เกิดการรบกวน หรือขัดขวางต่อการส่งหรือรับวิทยุคมนาคมมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำฯลฯ
2.2 ระเบียบกรมไปรษณีย์โทรเลขว่าด้วยการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ (SYNTHESIZER) ของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ
2.2.1 เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ เครื่องรับ – ส่งวิทยุในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีสังเคราะห์ความถี่ วงจรที่ทำหน้าที่สังเคราะห์ความถี่เรียกว่า “(SYNTHESIZER)” ซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลขได้แบ่งประเภทเครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ ความถี่ของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจไว้ 2 ประเภท คือ
1) เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 1 หมายถึง เครื่องวิทยุคมนาคม ผู้ใช้งานสามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม
2) เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 หมายถึง เครื่องวิทยุคมนาคม ผู้ใช้งานไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม แต่สามารถตั้งความถี่วิทยุด้วยเครื่องความถี่วิทยุ (PROGRAMMER) หรือโดยวิธีอื่น ๆ
2.2.2 บุคคลที่จะใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ต้องมีฐานะ
1) เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำของหน่วยงานหรือมาช่วยราชการ
2) เป็นบุคคลธรรมดาที่ได้รับอนุญาตให้ร่วมใช้ความถี่วิทยุ
3) เป็นบุคคลฯ ที่ได้รับอนุญาตให้ร่วมใช้ความถี่วิทยุฯ
4) ต้องไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมเป็นที่เสียหายหรือเป็นภัยต่อสังคมหรือความมั่นคงของชาติ
5) ต้องผ่านการฝึกอบรมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่
6) ต้องผ่านการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัย เกี่ยวกับการสื่อสาร พ.ศ. 2525
7) ต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าหน่วยงาน ว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องวิทยุฯ
2.2.3 หลักปฏิบัติในการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่
1) ให้ใช้เฉพาะความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาต การใช้ความถี่วิทยุนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต เจ้าของความถี่วิทยุต้องอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรและเสนอให้กรมไปรษณีย์โทรเลขอนุมัติ
2) การพกพาเครื่องวิทยุคมนาคมไปใช้งานนอกที่ตั้งหน่วยงาน จะต้องพกพาไปเพื่อการปฏิบัติราชการเท่านั้น และพกพาในลักษณะที่เหมาะสม
3) ผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมต้องมีบัตรประชาชนตัวผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และบัตรประจำเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับแสดงต่อเจ้าพนักงานเมื่อถูกตรวจค้นในกรณีเครื่องวิทยุคมนาคมส่วนตัว ผู้ใช้จะต้องแสดงใบอนุญาตต่อ เจ้าพนักงานเมื่อถูกตรวจค้น
หลักปฏิบัติในการติดต่อสื่อสารการเตรียมการก่อนการเรียกขาน
1. ต้องจดบันทึกหรือเตรียมข้อความที่จะพูดไว้ก่อน เพื่อความรวดเร็ว การทวงถามถูกต้อง และเป็นหลักฐานในการติดต่อของสถานีตนเองอีกด้วย
2. ข้อความที่จะพูดทางวิทยุ ต้องสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และได้ใจความ
3. ก่อนพูดต้องฟังก่อนว่าข่ายสื่อสารนั้นว่างหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่เกิดการรบกวนการทำงานของสถานีอื่น โดยต้องใช้นามเรียกขานที่กำหนดให้เท่านั้น
4. ตรวจสอบนามเรียกขานของหน่วยงานหรือบุคคลที่จะต้องทำการติดต่อสื่อสารก่อน
5. การเรียกขานหรือการตอบการเรียก ต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของข่ายสื่อสารการเรียกขาน
การเรียกขานต้องครบองค์ประกอบ ดังนี้
- “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่ถูกเรียก
- “จาก” - “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่เรียก
- “เปลี่ยน”
การตอบรับการเรียกขาน
การตอบในการเรียกขาน ครั้งแรกต้องตอบแบบเต็ม ซึ่งประกอบด้วย
ก. “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่เรียก
ข. “จาก”
ค. “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่ถูกเรียก
ง. “เปลี่ยน”
*ตัวอย่างที่ 1
(ศูนย์ฯ เรียก) สายลม จาก พิษณุ 02 เปลี่ยน
(ลูกข่ายตอบ) พิษณุ 02 จาก สายลม เปลี่ยน หรือ
(ลูกข่ายตอบ) จาก สายลม เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ) หรือ
(ลูกข่ายตอบ) สายลม เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ)
*ตัวอย่างที่ 2
(ศูนย์ฯ เรียก) พิทักษ์ 102 จาก พิทักษ์ 602 เปลี่ยน
(ลูกข่ายตอบ) พิทักษ์ 602 จาก พิทักษ์ 102 เปลี่ยน หรือ
(ลูกข่ายตอบ) จาก พิทักษ์ 102 เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ) หรือ
(ลูกข่ายตอบ) พิทักษ์ 102 เปลี่ยน
ขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร
1. การติดต่อสื่อสารโดยทั่วไปเรียกศูนย์ฯ ที่สังกัด- การเรียกขาน / การตอบ- ใช้นามเรียกขานที่กำหนด
1. การติดต่อสื่อสารโดยทั่วไปเรียกศูนย์ฯ ที่สังกัด- การเรียกขาน / การตอบ- ใช้นามเรียกขานที่กำหนด
2. แจ้งข้อความ / วัตถุประสงค์ / ความต้องการ- สั้น กะทัดรัด ชัดเจน ได้ใจความ- ใช้ประมวลลับ นปส ที่กำหนด
3. จบข้อความลงท้ายคำว่าเปลี่ยน
การรับ / แจ้งเหตุฉุกเฉิน
1. เมื่อพบเหตุหรือต้องการความช่วยเหลือให้แจ้งศูนย์ฯ ที่สังกัดหรือสัญญาณ ที่สามารถติดต่อสื่อสารได้2. เตรียมรายละเอียด (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร) ของเหตุเพื่อจะได้แจ้งได้ทันที
3. เมื่อแจ้งเหตุแล้วควรเปิดเครื่องรับ – ส่งวิทยุให้พร้อมไว้เพื่อจะได้ฟังการติดต่อประสานงาน รายละเอียดเพิ่มเติม
4. เมื่อแจ้งเหตุแล้วควรรายงานผลคืบหน้าในการประสานงานเป็นระยะ
5. เมื่อมีผู้แจ้งเหตุแล้วไม่ควรสอดแทรกเข้าไป ควรฟังอย่างสงบเพื่อมิให้เกิดการรบกวนและความสับสน
มารยาทและข้อห้ามการใช้วิทยุสื่อสาร
1. ไม่ติดต่อกับสถานีที่ใช้นามเรียกขานไม่ถูกต้อง
2. ไม่ส่งข่าวสารที่เกี่ยวกับข่าวทางธุรกิจการค้า
3. ไม่ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ หรือหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร
4. ไม่แสดงอารมณ์โกรธในการติดต่อสื่อสาร
5. ห้ามการรับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง
6. ไม่ส่งเสียงดนตรี รายการบันเทิง และการโฆษณาทุกประเภท
7. ให้โอกาสสถานีที่มีข่าวสำคัญ เร่งด่วน ข่าวฉุกเฉิน ส่งข่าวก่อน
8. ยินยอมให้ผู้อื่นใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
9. ห้ามติดต่อสื่อสารในขณะมึนเมาสุราหรือควบคุมสติไม่ได้
10. ในกรณีที่มีเรื่องเร่งด่วนต้องการส่งแทรกหรือขัดจังหวะการส่งข่าวควรรอจังหวะที่คู่สถานีจบข้อความที่สำคัญก่อนแล้วจึงส่ง
การใช้และการบำรุงรักษาเครื่องวิทยุคมนาคมเครื่องรับ–ส่งวิทยุคมนาคม
การใช้และการบำรุงรักษาเครื่องวิทยุคมนาคมเครื่องรับ–ส่งวิทยุคมนาคม
1. การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดมือถือไม่ควรอยู่ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง ต้นไม้ใหญ่ สะพานเหล็ก หรือสิ่งกำบังอย่างอื่นที่เป็นอุปสรรคในการใช้ความถี่วิทยุ
2. ก่อนใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ตรวจดูว่าสายอากาศ หรือสายนำสัญญาณต่อเข้ากับขั้วสายอากาศเรียบร้อยหรือไม่
3. ขณะส่งออกอากาศไม่ควรเพิ่มหรือลดกำลังส่ง (HI – LOW)
4. ในการส่งข้อความ หรือพูดแต่ละครั้งอย่ากดสวิทซ์ (PTT) ไม่ควรส่งนานเกินไป (เกินกว่า 30 วินาที)
แบตเตอรี่
1. แบตเตอรี่ใหม่ให้ทำการประจุกระแสไฟฟ้าครั้งแรกนานประมาณ 16 ชั่วโมง ก่อนการนำไปใช้งาน
และครบ 16 ชั่วโมงแล้ว ให้นำแบตเตอรี่ออกจากเครื่องประจุแบตเตอรี่จนกว่าแบตเตอรี่จะเย็น จึงจะนำแบตเตอรี่ไปใช้งานได้
2. แบตเตอรี่ (NICKEL CADMIUM) ต้องใช้งานให้หมดกระแสไฟฟ้าจึงจะนำไปประจุกระแสไฟฟ้าได้
3. การประจุกระแสไฟฟ้าหลังจากกระแสไฟฟ้า ตามข้อ 2 หมดแล้ว ให้นำไปทำการประจุกระแสไฟฟ้าใหม่ตามระยะเวลาใช้งานแบตเตอรี่
4. ถ้าแบตเตอรี่ใช้งานไม่หมดกระแสไฟฟ้า ไม่ควร ทำการประจุกระแสไฟฟ้าเนื่องจากจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด (NICKEL CADMIUM)
5. ถ้าแบตเตอรี่สกปรกทั้งที่ตัวเครื่องรับ – ส่ง และขั้วแบตเตอรี่ให้ทำความสะอาดโดยใช้ยางลบสำหรับลบหมึกทำความสะอาด
สายอากาศ
1. ความยาวของสายอากาศจะต้องสัมพันธ์กับความถี่วิทยุที่ใช้งาน
2. สายอากาศชนิดชัก ต้องชักสายอากาศให้สุดในขณะใช้งาน และเก็บทีละท่อน
การพกพาเครื่องวิทยุคมนาคม
1. วิทยุสื่อสารให้ใช้ได้เฉพาะพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต
2. การพกพาเครื่องวิทยุชนิดมือถือ ต้องนำใบอนุญาตติดตัวไปด้วย หรือถ่ายสำเนาและมีการรับรองสำเนาด้วย
3. การพกพาเครื่องวิทยุชนิดมือถือเข้าไปในสถานที่ต่าง ๆ ควรพิจารณาถึงสภาพของสถานที่ด้วยว่า ควรปฏิบัติอย่างไร เช่น ในห้องประชุม ในร้านอาหาร ถ้าจำเป็นควรใช้หูฟัง
4. ขณะพกพาวิทยุควรแต่งกายให้เรียบร้อย และมิดชิดโดยสุภาพ
5. ในกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ ควรให้ความร่วมมือ โดยสุภาพ
ตัวอย่างใบประกาศนักวิทยุสมัครเล่น
โดย จ.ส.อ.นเรศ เกิดวิเชียร
ติดต่อสอบถามขอรายละเอียดเพิ่มโทรทหาร. 90220
การต่อสู้มือเปล่า